ความคิดในการพัฒนาที่ประกอบไปด้วย
(1) Extended Evaluation Guide บอกว่าควรทำอะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง
(2) SPA in Action กระตุ้นให้เราคิดว่าเรื่องที่ควรทำคืออะไร
(3) Framework for Evaluation
ซึ่ง Slide แผ่นนี้เมื่อเรามาพิจารณา วิเคราะห์ให้ดีๆจะพบว่าสามารถที่จะนำไปปรับใช้ได้ทุกสถานการณ์ในกระบวนการการพัฒนาคุณภาพครับ นั่นคือไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานชนิดใด การพัฒนาในสิ่งต่างๆ ไม่ว่าเล็ก หรือใหญ่ ล้วนแล้วสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกกรณี นั่นคือ
1. ดูว่าอะไรคือเป้าหมาย,บริบท,สิ่งสำคัญในการพัฒนา,ความเสี่ยงสำคัญ ความต้องการของผู้รับบริการหรือชุมชน กระบวนการหรือขั้นตอนในการดูแลผู้ป่วยที่เราต้องการพัฒนา ข้อร้องเรียน ฯลฯ จากนั้นนำมาสู่การกำหนดขั้นตอน และกระบวนการที่จะพัฒนาในเรื่องนั้นๆ และสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป นี่คือการใช้ Extended Evaluation Guide มาช่วยในการคิดว่าเราจะพัฒนาอย่างไร
2. จากนั้นก็นำมาตรฐานต่างๆหรือ Best Practice ที่เป็นที่ยอมรับมาช่วยกันตั้งคำถามว่าสิ่งที่เราปฏิบัติไปนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ได้มาตรฐานหรือไม่ เป็นที่ยอมรับในสากลหรือไม่ เมื่อเทียบกับมาตรฐานหรือข้อกำหนดนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น SPA in Action ที่ใช้ในการตั้งคำถามหรือตรวจสอบประเด็นในการพัฒนาคุณภาพ HA ,มาตรฐานทางวิศวกรรมทางการแพทย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือทางการแพทย์ โครงสร้างสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยต่างๆเป็นต้น , มาตรฐานงานอาชีวอนามัยเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ในเรื่องการทำงานที่ปลอดภัยของบุคลากร , การใช้แนวทางในการดูแลผู้ป่วยของราชวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น จากนั้นก็นำสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดกระบวนการการพัฒนาโดยผ่านวงล้อ PDCA และปรับปรุงต่อไป เหล่านี้คือมาตรฐานหรือแนวทางที่จะช่วยให้เราตั้งคำถามว่ากระบวนการที่เราได้พัฒนาหรือได้ทำไปนั้นในเรื่องนั้นๆเหมาะสมหรือไม่ นี่คือส่วนที่สองที่นำมาสู่การกระตุ้นด้วยคำถามจากมาตรฐาน หรือ Best Practice ว่าสิ่งที่เราควรทำคืออะไร
3. เมื่อเราได้กำหนดกรอบในการพัฒนา และปฏิบัติ อีกทั้งเสริมต่อว่าสิ่งที่เราได้ทำหรือปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า หรือควรทำหรือไม่ และนำสู่การปฏิบัติจนครบวงล้อ PDCA แล้ว เราก็ต้องมาประเมินว่าสิ่งที่่เราพัฒนานั้นครอบคลุมในการให้บริการที่จำเป็นแล้วหรือไม่ เช่น การเข้าถึงในการรับบริการของผู้ป่วยคนไทย เราสามารถสื่อสาร และทำความเข้าใจได้อย่างถุกต้อง มีการปฏิบัติที่ดี แต่ของชาวต่างชาติ เราได้พัฒนาในเรื่องการเข้าถึงได้ดีพอแล้วหรือยัง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งในเรื่องการรายงานความเสี่ยง เราสามารถทำได้ดีในเรื่องการรายงานอุบัติการณ์ แต่ทว่าช่องทางอื่นๆของการได้อุบัติการณ์ ที่เราจะได้ข้อมูลมาช่วยในการพัฒนาต่อไปนั้นเป็นอย่างไร เป็นต้น เมื่อเราได้ส่วนเพิ่มเติม หรือส่วนที่ยังเป็นปัญหาอยู่ในขั้นตอนที่เรากำลังพัฒนา ก็จะนำมาสู่การพัฒนาเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น และสามารถอุดช่องโหว่ของการพัฒนา และทำให้การพัฒนาและการดูแลผู้ป่วยสมบูรณ์มากขึ้น นี่คือ Framework for Evaluation ครับ
บทความ จาก อ.สุรเดช ศูนย์พัฒนาคุณภาพ รพ.ท่าฉาง