มากขนาดไหนคือติดเกม เราเป็นเด็กติดเกมหรือไม่?? มาดูลักษณะของการติดเกมกัน
ลักษณะของการติดเกม
•ใช้เวลาเล่นเกม เกิน 2 ชมต่อวัน
•รบกวนหน้าที่ การเรียน ขาดทักษะสังคม ขาดความสัมพันธ์ในบ้าน และกับเพื่อนนอกบ้าน
•หมกมุ่นจริงจัง
•ขาดไม่ได้ จะมีอาการรุนแรง อารมณ์เสีย
•บุคลิกภาพผิดไปจากเดิม
•ใช้เงินมาก แอบทำ โกหก ขโมยเงินไปเล่น
ปัญหาตามมา
เมื่อไม่นานมานี้เอง วารสารกุมารเวชศาสตร์ (Pediatrics) ได้ตีพิมพ์งานวิจัยซึ่งติดตามดูเด็กติดเกมระดับประถมและมัธยมจำนวนสามพันกว่าคนในอเมริกา ฮ่องกง และสิงค์โปร์ โดยตามดูนาน 2 ปี พบว่าการติดเกมทำให้เด็ก (1) สูญเสียทักษะทางสังคม (2) การเรียนแย่ลง (3) เป็นโรคซึมเศร้าง่ายขึ้น ยิ่งติดเกมมาก ยิ่งมีสามปัญหานี้มาก
ลักษณะพ่อแม่ที่มีลูกติดเกม
พ่อแม่ควรทบทวนตัวเองว่าลักษณะต่างๆต่อไปนี้ มีบ้างหรือไม่ ถ้ามีการแก้ไขจะช่วยป้องกัน และรักษาเด็กติดเกมได้ผล
1. ใจอ่อน
2. ตามใจ
3. ไม่มีเวลา
4. ขาดอำนาจส่วนตัว
ลักษณะเด็กที่จะติดเกมง่าย
เด็กที่มีลักษณะต่อไปนี้ ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ มีโอกาสติดเกมได้ง่าย หรือถ้าเริ่มเล่นเกมต้องคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด
•สมาธิสั้น ปัญหาการเรียน (LD)
•ปัญหากับเพื่อน ขาดทักษะสังคม
•ปัญหาอารมณ์ เหงา เครียด ซึมเศร้า
•ขาดการยับยั้งใจตนเอง Disinhibition
•รอคอยไม่ได้ Immediate gratification
•ขาดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง Low self esteem
ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จ
•พ่อแม่ผู้ใหญ่ตรงกัน เป็นทีม เสริมกัน
•มองในแง่ดี
•ชมเชยข้อดี ความสำเร็จ
•desensitization มีกิจกรรมเสริม ทดแทน ให้สนุกสนาน อย่าห้ามเฉยๆ
•คอยกำกับให้เป็นไปตามที่ตกลง เอาจริง สม่ำเสมอ ไม่รุนแรง “เอาจริง อย่างนุ่มนวล”
•มีวิธีเตือนดีๆ มองในแง่ดี ตกลงวิธีเตือน
อ้างอิง
http://www.healthygamer.net/information/story/10753 การป้องกันและช่วยเหลือเด็กติดเกม นพ. พนม เกตุมาน สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
http://visitdrsant.blogspot.com/2011/01/blog-post_28.html ลูกติดเกม จะเป็นโรคจิตไหม นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์