อิงจากบทความ คุณ Herf U.
ระวัง “ชาร์จแบตไปด้วยใช้โทรศัพท์ไปด้วย” ครับ
เล่นมือถือระหว่างชาร์จ
มือถือ ชาร์จแบตเตอรี่ไปด้วยเล่นไปด้วย เครื่องร้อนก้ยังเล่นก็ยังโทร… ระวังนะครับ…จะมือขาดไม่รู้ตัว…เคสนี้คงต่อไม่ได้แล้ว… ช่วยแชร์กันหน่อยนะครับด้วยความปราถนาดี จาก@[232557243566861:274:ข่าวออนไลน์]สื่อสร้างสรรค์บนเว็บไซต์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ไปยังผู้ชมทั่วโลก เพื่อลดภาวะโลกร้อน ด้วยการไม่ต้องใช้กระดาษพิมพ์หนังสือ แต่นำเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์ ชมภาพ ฟังเสียง ดูคลิปภาพเคลื่อนไหวได้ทันที ในยุคโลกไอทีสมัยใหม่ ก้าวไกลทุกวินาที ดูฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย <= #ข่าวออนไลน์ ไร้พรมแดน ไร้ผู้บงการ ไร้การรีดไถเงิน เป็นอิสระด้านความถูกต้อง นำเสนอข่าวด้วยความโปร่งใส เพื่อสังคมไทยปัจจุบัน =>
[youtube]http://youtu.be/FLc4wTqPmjU[/youtube]
ป้องกันอันตรายจากมือถือระเบิดและไฟช๊อตได้อย่างไร..?
– อุปกรณ์เสริมต้องของแท้
พวกอุปกรณ์เสริมทั้งหมด เช่น สายชาร์จ หัวปลั๊ก แบตเตอรี่พกพา ไม่เฉพาะกับมือถือเพียงอย่างเดียว ควรเป็นของแท้ รับประกันคุณภาพโดยตรงจากผู้ผลิตที่ได้รับมาตราฐานรับรองเท่านั้น หากชำรุดเสียหายต้องซื้อใหม่ก็ควรพิจารณาของแท้เท่านั้น อย่าเกี่ยงเรื่องราคา เพราะอาจได้ไม่คุ้มเสี่ยง
– ติดตั้งสายดิน
สายดินถือเป็นสิ่งสำคัญกับระบบไฟฟ้าทุกสถานที่ เพราะสายดินทำให้ไฟฟ้าส่วนเกินในระบบ ไหลออกไปที่โครงสร้างอาคารอันไม่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า ทำให้ผู้ใช้งานลดความเสี่ยงที่จะถูกไฟดูดได้
อย่างที่ทราบกันว่าตัวเราก็เป็นสื่อนำไฟฟ้าอย่างดี จึงมีคำแนะนำเรารู้ๆกันว่า เพื่อลดความเสี่ยงไฟฟ้าดูดทุกกรณี ห้ามไม่ให้สัมผัสกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดถ้าตัวเปียกชื้น ถ้าไม่มั่นใจวิธีที่ง่ายที่สุด คือใส่รองเท้าแบบใส่เดินในบ้าน เพื่อเป็นฉนวนกันไฟฟ้าอย่างง่ายๆ
ดังนั้นถึงปลั๊กและสายชาร์จของแท้ จะมีความปลอดภัย ป้องกันได้ระดับหนึ่ง แต่หากระบบไฟในบ้าน-อาคาร ไม่ได้เดินสายดินไว้ ก็ยังมีความเสี่ยงที่เราจะถูกไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าลัดวงจรกับอุปกรณ์ที่เราใช้ได้จึงควรติดตั้งสายดินในระบบไฟในบ้าน เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
– อุปกรณ์มีปัญหาต้องงดใช้
ตรวจดูความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ควรอยู่ในสภาพพร้อมใช้ หากชาร์จไฟแล้วมีเสียง มีไฟแลบ หรือสายไฟชำรุดฉีกขาด ก็มีโอกาสที่กระแสไฟฟ้าจะรั่ว ช็อตและดูดเราได้
– เสียบปลั้กเข้าเต้ารับก่อนทุกครั้ง
เป็นเทคนิคง่าย ๆ ในการป้องกันไฟกระชากใส่มือถือและอุปกรณ์ต่างๆ ก็คือเอาหัวปลั้กเสียบเข้ากับเต้ารับก่อนเสียบสายเข้าอุปกรณ์ ทำให้ไฟที่เกินมา จะไม่วิ่งเข้าอุปกรณ์ในทันที
– ไม่ใช้ขณะชาร์จแบตเตอรี่
ก็เท่ากับลดความเสี่ยงจากการถูกไฟดูด ไฟช็อตได้ไประดับหนึ่ง เพราะเราอาจจะไม่รู้ตัวว่าขณะนั้นมือหรือร่างกายเราเปียกน้ำเช่นเดียวกับสาวแอร์ หรือสายชาร์จหรือไฟฟ้าภายในบ้านฉีกขาดชำรุดอยู่หรือไม่ค่ะ
-ไม่ชาร์จแบตนานข้ามวัน
และควรรู้จักชนิดของแบตเตอรี่ที่ใช้จากสติ๊กเกอร์ที่ติดบนก้อนแบตเอตรี่นั้นๆ จะได้ใช้งานและชาร์จไฟอย่างถูกวิธี ในกรณีนี้ควรปฏิบัติตามคู่มือการใช้โทรศัพท์แต่ละรุ่นจะดีที่สุด
-อย่าวางโทรศัพท์ไว้ในที่ที่ร้อนจัด
เช่น ในรถยนต์ หรือโลหะ เช่น เหรียญกษาปณ์ ที่อาจสัมผัสกับขั้วที่ใช้ชาร์จ ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และอาจทำให้ระเบิดได้ค่ะ
-เปลี่ยนแบตใหม่ทันที (ควรใช้ของแท้)
หากพบว่าแบตที่ใช้บวมผิดสภาพ แสดงว่าแบตเตอรี่นั้นเสื่อมแล้ว
มาทำให้การสูญเสียแบบนี้ให้เป็นศูนย์ ด้วยการรู้ทันอันตรายจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมือถือกันเถอะค่ะ Safety frist ไม่ยากเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.macstroke.com และ blogspot กลุ่มจุดตะเกียง
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : news.thaiza.com และภาพจาก www.google.co.th