– ยาเม็ดคุมกำเนิด…เรื่องง่ายๆที่ผู้หญิงควรรู้+++

ยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถแบ่งตามชนิดของฮอร์โมนได้เป็น 2 ชนิด คือ

 1. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (combined oral contraceptives หรือ COCs)

ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจน

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.1 Monophasic หรือ fixed dose pills ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้มีฮอร์โมนสังเคราะห์ของเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนในขนาดเท่ากันทุกเม็ด ในหนึ่งแผงจะมี 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด โดย 7 เม็ดสุดท้ายไม่มีฮอร์โมนเลย แต่เป็นยาหลอก (placebo) ของรพ.แม่ออน เป็นชนิดนี้ ยี่ห้อ  R-den แบบ 28 เม็ด

100_0203 177215

1.2 Multiphasic pills ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน ในปริมาณที่ไม่เท่ากันทุกเม็ด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิด biphasic ที่มีฮอร์โมนต่างกัน2 ระดับ เช่น ยี่ห้อ Oilezz และชนิด triphasic เป็นยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนต่างกัน 3 ระดับ ซึ่งยาคุมกำเนิดประเภทนี้ต้องรับประทานเรียงตามลำดับ ห้ามรับประทานข้ามโดยเด็ดขาด

 

 2. ย า เ ม็ ด คุ ม ก ำ เ นิ ด ที่ มี โ ป ร เจ ส โ ต เจ น อ ย่ า ง เ ดี ย ว (progestogen-only pills หรือ POPs)

2.1. minipill เป็นยาเม็ดกลุ่มที่ไม่มีเอสโตรเจน คือมี โปรเจสโตเจนปริมาณน้อยและเท่ากันทุกเม็ด แต่ละแผงจะมี 28 หรือ 35 เม็ด ยาคุมชนิดนี้ไม่มีอาการข้างเคียงของเอสโตรเจน แต่ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดต่ำกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเพราะการระงับไข่ตกไม่แน่นอน หากตั้งครรภ์โอกาสที่เป็นครรภ์นอกมดลูกจะสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะนี้มีอยู่ชนิดเดียวคือ Exluton มี 28 เม็ดต่อแผง มักใช้ในหญิงให้นมบุตร

2.2. ยาคุมฉุกเฉิน มีโปรเจสโตเจนในปริมาณสูง คือ levonorgestrel ในขนาด 0.75 มิลลิกรัม ที่มีขายในเมืองไทยมี 2 ยี่ห้อ คือ Postinor กับ Madonna เป็นยาคุมกำเนิดที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน

 

กลไกการคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยยาเม็ดคุมกำเนิดออกฤทธิ์ที่ระดับสมองและรังไข่

è ยับยั้งไข่ตก ซึ่งเป็นกลไกหลักในการป้องกันการตั้งครรภ์

è เปลี่ยนแปลงสภาพของมูกที่ปากมดลูก ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกมีสภาพเป็นด่างและเหนียวข้น จึงเป็นการสกัดกั้นไม่ให้ตัวอสุจิเคลื่อนเข้าสู่มดลูก

è เปลี่ยนแปลงสภาพเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ไม่เหมาะสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว

è เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของท่อนำไข่ ทำให้ไข่ที่ผสมแล้วเดินทางไปถึงมดลูกเร็วเกินไปจนไม่สามารถฝังตัวได้

 

การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด

1399634246-Exlutontab-o

 

èเริ่มต้นรับประทานระหว่างวันที่ 1-5 ของรอบเดือน

èควรรับประทานให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวันเพื่อป้องกันการลืม

èยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด ทุกเม็ดจะมีฮอร์โมน เมื่อ รับประทานหมดแผงแล้วต้องงดเว้นการรับประทาน 7 วัน เพื่อให้มีระดู แล้วจึงเริ่มรับประทานแผงใหม่

è ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด 28 เม็ด นั้น 21 เม็ดแรกเป็นฮอร์โมน ส่วนอีก 7 เม็ดเป็นยาหลอกดังนั้น จึงรับประทานได้ทุกวัน ไม่ต้องงด ซึ่งประจำเดือนจะมาในช่วงการรับประทานยาหลอก 7 เม็ดนั้น

è สตรีที่กำลังมีประจำเดือน เริ่มต้นรับประทานยาเม็ด คุมกำเนิดได้ภายใน 5 วันหลังจากเริ่มมีประจำเดือน โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย

èสตรีที่ยังไม่มีประจำเดือน สามารถเริ่มรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเมื่อใดก็ได้หากมั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยควบคู่ไปอีก 7 วัน

èสตรีที่เปลี่ยนจากใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นที่ใช้ฮอร์โมน สามารถรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดได้ทันที หากมีการใช้วิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ ที่มีฮอร์โมนมาอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง หรือมั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ โดย ไม่จำเป็นต้องรอการมีประจำเดือนครั้งต่อไป หากเคยรับบริการยาฉีดคุมกำเนิดมาก่อน ควรเริ่มรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเมื่อครบกำหนดต้องฉีดยาคุมกำเนิดเข็มใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย

 

การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเมื่อมีการลืม

èลืมรับประทานยาเม็ดฮอร์โมน 1 เม็ด >> รีบรับประทานยาเม็ด ที่ลืมทันทีเมื่อนึกได้ และรับประทานยาเม็ดต่อไปตามเวลาปกติที่เคยรับประทาน

èลืมรับประทานยาเม็ดฮอร์โมน 2 เม็ด >> ให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเพิ่ม 1 เม็ดภายหลังอาหารเช้า 2 วัน และรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในแผงตามเดิม

è ลืมรับประทานยาเม็ดฮอร์โมน 3 เม็ด >> ให้หยุดรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในรอบเดือนนั้น แล้วรอให้ระดูมาจึงเริ่มรับประทานตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว

è ลืมรับประทานยาหลอก (ยาเม็ดแป้ง) >> ให้รับประทานยาไปตามปกติ

 

อาการข้างเคียงและการป้องกันแก้ไข

บางคนอาจมีอาการข้างเคียงบ้างในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในช่วง 3 เดือนแรก

 

อาการข้างเคียง

แนวทางการป้องกันแก้ไข
คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่ส่วนมากเกิดจากการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดสูง หรือเป็นผล

ข้างเคียงที่พบได้ในระยะเริ่มรับประทานยา 1-2 แผงแรกของการรับประทานยา อาการนี้จะค่อย ๆ หายไป

 

– ทดสอบการตั้งครรภ์เมื่อสงสัย ถ้าตั้งครรภ์ให้ผู้รับบริการหยุดรับประทานยาและอธิบายว่าปริมาณของฮอร์โมนที่อยู่ในยาเม็ดที่รับประทานเข้าไปก่อนหน้านี้มีปริมาณน้อยมาก ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

– แนะนำให้รับประทานยาหลังอาหารเย็น หรือก่อนนอน และแนะนำว่าอาการคลื่นไส้เวียนศีรษะ อาเจียน จะลดน้อยลงหลังจากที่รับประทานยาไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน

– ปรับลดขนาดของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมลง คือ เปลี่ยนเป็นรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน

เอสโตรเจนต่ำ

ปวดศีรษะ ตึงคัดเต้านม อาการนี้อาจเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจน โดยเฉพาะเอสโตรเจนอาจทำให้มีการคั่งของน้ำ และเกลือ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และตึงคัดเต้านมได้ ในบางรายอาจมีอาการไมเกรน

 

– อาการเจ็บคัดเต้านม มักพบในระยะแรกของการใช้ยา ควรเลือก ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนต่ำ ซึ่งผู้รับบริการส่วนใหญ่จะอาการลดลงหรือหายไปในเวลาต่อมา

– เลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ที่มีเอสโตรเจนต่ำ หรือหยุดใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด

หน้าเป็นสิว ฝ้ายาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง อาจกระตุ้นการทำงานของเซลล์ที่สกัดสี การถูกแสงแดดเป็นประจำทำให้เกิดฝ้าได้ง่าย มีประมาณ 10-15% ที่จะเกิดฝ้าจากฤทธิ์ของฮอร์โมนไปกระตุ้นเม็ดสีของผิวหนัง และจะมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดดจัด อาการนี้จะหายไปเมื่อหยุดยา ในขณะที่ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน

อาจทำให้เกิดสิวได้

– ถ้าเป็นฝ้าควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนขนาดต่ำ หลีกเลี่ยง การถูกแสงแดด ใช้ครีมกันรังสีอัลตร้าไวโอเลต หรือครีมป้องกันฝ้า- ถ้าเป็นสิว ควรเปลี่ยนเป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงธรรมชาติ มากที่สุด

 

เลือดออกกะปริดกะปรอย เป็นอาการที่มักเกิดกับผู้ที่เริ่มใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแผง

แรก ๆ และเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้ในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนต่ำ หรืออาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น รับประทานยาไม่ตรงเวลา รับประทานยาไม่

สม่ำเสมอ ลืมรับรับประทานยา การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดร่วมกับยาอื่น ๆ ซึ่งมีปฏิกิริยาต่อกัน เช่น ยาปฏิชีวนะ  ยากันชัก เป็นต้น

 

-ทดสอบการตั้งครรภ์-รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดในเวลาเดียวกันทุกวันและสม่ำเสมอ

– แนะนำสตรีให้ทราบว่า อาการเลือดออกทางช่องคลอดเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้ในช่วง 3 เดือนแรก หลังจากนั้นก็จะปกติหรือลดน้อยลง

– ถ้ายังมีเลือดออกอยู่อย่างต่อเนื่อง แนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีปริมาณ estrogen เพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยน

ไปใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีอื่น

– หากมีเลือดออกกะปริดกะปรอย เกิน 3 เดือน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจดูสาเหตุของเลือดออก ผิดปกติ เช่น มะเร็งปากมดลูก และสาเหตุอื่น ๆ

น้ำหนักตัวเพิ่ม ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้เกิด

การคั่งของน้ำ และไขมันใต้ผิวหนัง จึงมีแนวโน้มน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และฮอร์โมนโปรเจสโตเจนที่มีฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย ทำให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น

– ควบคุมและดูแลเรื่องอาหาร และออกกำลังกาย- เปลี่ยนไปใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอสโตเจนขนาดต่ำๆ และโปรเจสโตเจนที่มีฤทธิ์ที่ไม่มีผลต่อการคั่งของน้ำ

 

อาการอาเจียนท้องเสียรุนแรง ขณะใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด   อาเจียนด้วยเหตุผลใดก็ตามภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยาเม็ดที่มี ฮอร์โมน- ควรรับประทานยาเม็ดที่มีฮอร์โมน ซ้ำอีก

 

HORMONES ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น