ไพล สมุนไพรสำหรับมารดาหลังคลอด

ไพล 

หัวไพล01

ชื่อสามัญ         ไพล
ชื่อท้องถิ่น       ปูลอย  ปูเลย  มิ้นสะล่าง  ว่านไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์           Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.
Zingiber cassumunar Roxb. (ชื่อพ้อง)
ชื่อวงศ์            Zingiberaceae
ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ
ใบ       
รสขื่นเอียน      แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก่ปวดเมื่อย
ดอก     รสขื่น แก้ช้ำใน  กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน  ทำลายเลือดเสีย ขับระดู
ต้น       รสฝาดขื่นเอียน    แก้อุจจาระธาตุพิการ  แก้ธาตุพิการ
ราก      รสขื่นเอียน      แก้เลือดกำเดาออกทางปากทางจมูก  แก้อาเจียนเป็นโลหิต
เหง้า    รสฝาดขื่นเอียน   ขับระดู  แก้เหน็บชา  แก้ปวดท้อง  แก้บิดมูกเลือด  ขับลม  แก้ท้องเสีย
แก้ลำไส้อักเสบ  ขับเลือดร้าย  แก้มุตกิตระดูขาว  แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้เคล็ดขัดยอก
แก้โรคผิวหนัง  แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  เป็นยาชาเฉพาะที่
องค์ประกอบ

เหง้าไพล ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น α-pinene , subinene ,
α- terpinene , – terpinene และ terpinene-4-ol และเหง้าไพลยังมีสารสีเหลือง curcumin ,
β- sitosterol , และสาร  acyclohexene derivatives , naphtoquinones derivatives ที่สำคัญคือสาร D หรือ (E)-4-(3,4-dimethoxyphenyl) but-3-en-l-ol และ (E)-l-(3,4- dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD)
ข้อบ่งใช้ (indication)
ครีมไพล   รักษาอาการบวม  ฟกช้ำ เคล็ด  ยอก
น้ำต้มไพล  ช่วยขับน้ำคาวปลา
ข้อห้ามใช้ (contraindication)
ครีมไพล  ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื่อเยื่ออ่อน  บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือแผลเปิด
น้ำต้มไพล  ไม่ควรดื่มติดต่อกันนานเกิน 15 วัน ข้อควรระวัง (precaution)
ไม่แนะนำให้ใช้กับสตรีมีครรภ์ หรือระหว่างให้นมบุตรและกับเด็กเล็ก
อาการไม่พึ่งประสงค์  ( adverse effect )
            ครีมไพล  ยังไม่มีรายงาน
น้ำต้มไพล  เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่าน้ำต้มไพลทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัว  ทำให้ตัวเหลือง

อ้างอิงจาก หนังสือบัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2549 หน้า 66 – 71