ทำไม 24 ชั่วโมงเท่ากัน ถึง ไม่เท่ากัน !!
ต้องย้อนกลับมาดู ว่าเราบริหารเวลากันอย่างไร
ทำอย่างไรเราจึงจะใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่ามากที่สุด
ลองมาดูหลักการบริหารเวลาแบบง่ายๆ กัน
1. การจัดลำดับ (Prioritization) เพื่อทำเรื่องสำคัญก่อน
เลือกให้ชัดเจนว่า อะไรสำคัญกว่า เช่น เปลี่ยนจากพูดว่า
“…ฉันไม่มีเวลาออกกำลังกายเลยเพราะงานยุ่งมาก” เป็น
“…ฉันไม่ออกกำลังกายเพราะฉันให้ลำดับความสำคัญของการมีสุขภาพดีไว้ต่ำกว่าการดูทีวีอ่าน
หนังสือพิมพ์และท่องเน็ต”
2. ความตั้งใจจะทำมากเกินไป (Overscheduling)
พูดถึงความโลภอย่างทำอะไรมากเกินไป ใครๆ ก็เป็น แต่ควรทำใจได้ว่าหากเป็นเรื่องที่จัดลำดับ
ความสำคัญไว้ต่ำกว่าเรื่องอื่น ถึงเวลาแล้วไม่ได้ทำ ก็ต้องทำใจ
3. การใช้ชีวิตอย่างไร (How to live your life)
ตรงนี้เป็นไฮไลท์ที่สำคัญที่สุด การบริหารเวลาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต กลวิธีดำเนินชีวิต
เป็นส่วนที่สำคัญยิ่งกว่า “เครื่องมือ” ที่จะใช้ดำเนินชีวิตให้มันไปได้ดีเหลือไว้ใช้จริงทุกวันนี้
แค่ 7 อย่าง คือ
เครื่องมือที่ 1. การเลือกจังหวะหยิบเครื่องมือ
บางจังหวะ เราต้องใช้เครื่องมืออย่างหนึ่งไปต่อกร แต่บางจังหวะ เราต้องใช้เครื่องมืออีกอย่างหนึ่ง
เครื่องมือที่ 2. ความรู้ตัว (self awareness)
หมายถึงการคอยบอกตัวเองเสมอว่าเรากำลังอยู่ที่นี่นะ เดี๋ยวนี้นะ being here and now
ถ้าไม่รู้จะไปตั้งหลักที่ไหน ตั้งหลักที่ลมหายใจเข้าออก ตรงนี้เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุด เครื่องมือนี้ช่วย
ไม่ให้เสียเวลาไปเพ้อเจ้อกับอดีตและอนาคตมากเกินไป
เครื่องมือที่ 3. ความกล้าหรือความอึด (bravery)
ความกล้านี้ความรวมถึงความอึดที่จะลุยดุ่ยๆๆไปโดยไม่สนใจใครจะว่าอะไรด้วย
เครื่องมือที่ 4. การรู้จักเป็นปลื้ม (pride) กับชีวิต
เมื่อมองไปรอบตัว มันมีหลายสิ่งหลายอย่างมากที่เราควรจะเป็นปลื้มกับมัน บางครั้งเป็นเรื่องเล็กๆ
เช่น ปลูกดอกไม้แล้วมันออกดอก มันเป็นความรู้สึกที่ดีที่ทำให้มีพลังที่จะเดินไปข้างหน้าได้อีก
อย่างไม่รู้เหนื่อย
เครื่องมือที่ 5. การผ่อนคลายตัวเอง (relax)
หมายถึงการรู้จักนั่งลงเอนหลังพิงพนักเพื่อทำใจให้ว่างๆสบายๆสักครู่ แบบที่ฝรั่งเรียกว่า
lay back ทริกอันนี้เวอร์คที่สุดในขณะที่เรากำลังเผชิญกับอะไรที่ร้ายแรงและต้องต่อกรแบบถึงเลือด
ถึงเนื้อถึงพริกถึงขิง
เครื่องมือที่ 6. การจดจ่อ (focus)
การทำทีละอย่าง และจดจ่อกับอะไรเพียงอย่างเดียว เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีกว่า โดยเฉพาะในวัย
ที่สมองเริ่มเสื่อมถอยแล้ว ทำไปทีละอัน ทำอันแรกให้หมดก่อนแล้วค่อยไปทำอันที่สอง ขณะที่ทำ
อันแรกก็จดจ่ออยู่กับอันแรกเท่านั้น ไม่ต้องคิดถึงอันถัดไป เสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น
เครื่องมือที่ 7. ช่างแม่..ม (Let it be)
ไม่ได้หมายความว่าทำอะไรแล้วคิดจะเลิกทำก็เลิกทำกลางคันโดยไม่แคร์ แต่เครื่องมืออันนี้
เอาไว้ใช้กับเรื่องที่อยู่นอกเขตอำนาจการควบคุมบังคับ อย่างเช่นนิสัยขับรถไม่ดีของคนขับรถคน
อื่นบนถนน อย่างนี้เป็นต้น
การใช้ชีวิตด้วยเครื่องมือทั้ง 7 อย่างนี้ บวกกับการรู้จักเรียงว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญแล้วเลือกทำเรื่อง
สำคัญก่อน บวกกับการไม่โลภจะทำหลายอย่างมากเกินเวลาที่มี เป็นคำแนะนำที่คิดอาจเอาไป
ประยุกต์แก้ปัญหาเวลาไม่พอใช้ได้ครับ